
วัดพระนอนป่าเก็ดถี่
วัดพระนอนป่าเก็ดถี่ ตั้งอยู่บ้านป่าเก็ดถี่ เลขที่ 198 หมู่ที่ ๔ ตำบลยางเนิ้ง อำเภอสารภี จังหวัดเชียงใหม่ สังกัดคณะสงฆ์มหานิกาย พื้นที่ตั้งวัดเนื้อที่ ๕ ไร่ ๓ งาน ๗๖ ตารางวา โฉนดเลขที่ ๑๑๗๔๐
ความเป็นมา
ตามตำนานกล่าวไว้ว่าเมื่อพระพุทธเจ้าเสด็จโปรดสัตว์โลกนั้นพระองค์เสด็จมาโปรดยักษ์ซึ่งกำลังไล่จับลูกสาวนายแสนแซว่ คือ นางอุทุม กิน พระพุทธเจ้าทรงเทศนาสั่งสอนจนยักษ์เกิดความเลื่อมใสจึงทำให้ลูกสาวนายแสนแซ่วปลอดภัย ดังนั้นลูกสาวเศรษฐีจึงนำบิดาของนางคือนายแสนแซ่วไปเฝ้าพระพุทธเจ้าพระองค์ประทานเส้นเกศาให้ ต่อมานายแสนแซว่และลูกสาวได้สร้าง
พระพุทธรูปปางไสยาสน์ขึ้นโดยนำเอาพระเกศาของพระพุทธเจ้าประดิษฐานไว้ในพระเศียรของพระพุทธรูป ซึ่งต่อมาบริเวณที่ประดิษฐานพระพุทธรูปดังกล่าวกลายเป็นวัดขึ้น เรียกว่า วัดพระนอนป่าเก็ดถี่ (ประมาณว่าสร้างขึ้นราวปี พ.ศ.๒๐๙๘)ตามที่ระบุในทะเบียนวัดของจังหวัด วัดพระนอนป่าเก็ดถี่ได้รับพระราชทานวิสุงคามสีมา เมื่อวันที่ ๓๑ สิงหาคม พ.ศ.๒๔๘๖ เขตวิสุงคามสีมากว้าง ๔๐ เมตร ยาว ๘๐ เมตร
ความสำคัญ
๑. เป็นปูชนียะสำคัญของล้านนาไทย ที่มีพระเกศาธาตุของพระพุทธเจ้าสถิตอยู่
๒. มีเขี้ยวยักษ์ฝังอยู่ที่หมอนพระ ถ้าคนใดไม่บริสุทธิ์เข้าหมดจด เป็นคนคดโกง ลักลูกเมีย
คน
อื่น เป็นผีปอบ ผีกระสือ เป็นต้น เข้าไปในวิหารแล้ว จะมีอากัปกิริยากระสับกระส่ายกว่า
คนอื่น โบราณว่ายักษ์ที่รักษาทำให้
๓. มีศิลปะที่สร้างขึ้น ในยุคทองของพระนางจามเทวี ปรากฏฝีมืออยู่เพราะมีใบหน้ายิ้มงาม
ปรากฏเหมือนหญิงสาว ใครได้เห็นแล้วก็อิ่มอกอิ่มใจ เหมือนได้โชคลาภ จนทำให้บางคน
หลง (เมาพระ) ถึงกับขอโชคลาภก็เคยมี
๔. เป็นพระนอนที่ใหญ่แห่งเดียว ที่นอนในท่าปรินิพพาน จนครั้งหนึ่งพระราชชายาเจ้าดารารัศมี
เสด็จมานมัสการแล้ว ประทานชื่อว่า พระนอนแสนสุข
ความสำคัญในปาฏิหารย์ของพระนอนป่าเก็ดถี่ ที่ปรากฏในพงศาวดารแห่งนครเชียงใหม่ ตอนหนึ่งว่าเมื่อปี พ.ศ.๒๐๙๘ ครั้งนั้นแผ่นดินแห่งนครเชียงใหม่อลเวง เพราะศึกพม่าประชิด เสนาข้าราชการก็ไม่เอาธุระใจใส่ใน หน้าที่ของตน ความจลาจล ก็เดือดร้อนทุกหย่อมหญ้า ครั้งนั้นได้เกิดอุบาตกาลกิณีขึ้นกับเมืองสามอย่างในวันเดียวกันคือ
๑. ยอดเจดีย์หลวงกลางเมืองพังทลาย
๒. แร้งจับบนยอดพระธาตุดอยสุเทพ คนไล่เท่าใดก็ไม่ไป
๓. น้ำพระเนตร พระนอนวัดป่าเก็ดถี่ ตกเป็นเลือด ตั้งแต่นั้นมาอีกสามวันเมือง
เชียงใหม่ก็ถูกพม่ายึดเป็นเมืองขึ้น
ประเพณีพิธีกรรมทางศาสนา
พระนอนป่าเก็ดถี่ ยาว ๗ วา ๑๒ นิ้ว กว้าง ๑ วา ๙ นิ้ว มีงานนมัสการสรงน้ำปิดทอง เป็นประจำทุกปี โดยถือเอาวันวิสาขบูชาเป็นประจำทุกปี
คำไหว้พระนอนแสนสุข
(ว่า นโม 3 จบ) แล้วว่าดังนี้
อหํ ภนฺเต พุทธปรินิพพุฒมฺปิ ตํ ภควนฺตํ สรณํ คตา คจฺฉามิ อภิวาเทมิฯ ว่า 3 หน
หลังจากที่เมืองเชียงใหม่ได้ตกเป็นเมืองขึ้นของพม่าแล้ว ก็ไม่ได้ทำนุบำรุงจากชาวพม่า จนเมืองเชียงใหม่เป็นเมืองร้างหาผู้คนอยู่มิได้ วัดวาอารามและบ้านเมืองเงียบสงัด มีแต่แต่รกเถาวัลย์ขึ้นปกคลุมอยู่ เป็นที่อาศัยของสัตว์ป่า พระพุทธปฏิมากร หรือพระนอนแสนสุขก็ถูกทอดทิ้ง
ต่อมาเมื่อประมาณ 150 ปี ที่ผ่านมานี้ มีผู้เฒ่าชาวเมืองพิงค์ผู้หนึ่งชื่อว่า หมอกำ หรือหมอประคำ เพราะท่านผู้นี้เวลาไปไหนมาไหนมักมีประคำติดตัวแล้วนับไปด้วย เป็นการเจริญสมาธิวิธีหนึ่ง ครั้งนั้นบริเวณอำเภอสารภี เต็มไปด้วย ป่าไผ่ ป่าสัก ป่าไม้เต็ง ป่ายาง และไม้เก็ด สัตว์ ป่า เช่น เสือ วัว ควาย สัตว์เลี้ยง ถ้าปล่อยไปเฉยๆ มักจะถูกเสือเอาไปกิน
ต่อมาวันหนึ่งหมอคำได้ไปเลี้ยงควาย ก็ได้ไปพบเห็นพระพุทธรูปนอนอยู่ในป่า องค์ใหญ่องค์หนึ่ง มีรอยเท้าสัตว์ป่าข้ามไปมาตรงเอวจนเป็นรอยกิ่ว แต่องค์พระมีใบหน้าอันงามนัก ตลอดองค์พระพุทธรูปเป็นหินแดงหมดจึงมีความเลื่อมใสมากนักจึงได้เผี้ยวถาง แล้วทำการปฏิสังขรณ์ให้ดี แล้วชักชวนชาวบ้านให้มีอารามิกะผู้อยู่อาศัยขึ้นจึงได้เป็นวัดขึ้นอีกครั้งหนึ่ง ลำดับเจ้าอาวาสมีดังนี้
1. พระสุเมโธเถระ
2. พระสุคัณโทเถระ ราชครูจังหวัดเชียงใหม่
3. พระมณีวรรณ (ครูบามณีวรรณ)
4. พระสุภาจาโร ( พระครูคัมภีรธรรมหล้า) อดีตเจ้าคณะอำเภอสารภี ( ทั้งสี่รูปได้
มรณภาพในวัดนี้ทั้งหมด)
5. พระมหาปรีชา อัตตปรีชา อดีตเจ้าคณะอำเภอสารภี
6. พระมหาบุญเป็ง ปุญญปภา อดีตศึกษาอำเภอสารภี
7. พระครูอนุรักษ์ปริยัติคุณ อดีตรองเจ้าคณะอำเภอสารภี และเป็นผู้ก่อตั้งโรงเรียนพระ
ปริยัติธรรมฯ
8. พระครูโสภณธรรมานุวัตร ( สงคราม อาจิณฺณธมฺโม) เจ้าคณะอำเภอสารภี ผู้
จัดการโรงเรียน สารภีปริยัติศึกษา
พระนอน เป็นพระพุทธรูปที่มีความวิจิตรพิสดาร นอนในท่าปรินิพพาน ต่อมาในสมัยของพระครูคัมภีรธรรมหล้า ( ประมาณ พ.ศ. 2447 ) ได้มีการปฏิสังขรณ์ โดยได้กะเทาะส่วนพระพักตร์ขององค์พระปฏิมาออก
ปรากฏว่าภายหลังนายช่างผู้นั้นกลับเสียตาไปทั้งสองข่าง ความสำคัญของพระพุทธปฏิมากร คือ
1. เป็นปูชนียสถาน ที่มีเกศาธาตุของพระพุทธเจ้าสถิตอยู่
2. มีเขี้ยวยักษ์ฝังที่หมอนพระ
3. มีศิลปะที่สร้างขึ้น ในยุคทองของพระนางจามเทวี พระมีใบหน้ายิ้มงามปรากฏเหมือน
หญิงสาวใครได้เห็นแล้วก็อิ่มอกอิ่มใจ เหมือนได้โชคลาภ
4. เป็นพระนอนใหญ่แห่งเดียว ทีนอนในท่าปรินิพพาน จนครั้งหนึ่งพระราชชายาเจ้า
ดารารัศมีเสด็จมานมัสการแล้ว ประทานชื่อว่า พระนอนแสนสุข
จากประวัติความเป็นมาดังกล่าว จะเห็นว่าวัดพระนอนป่าเก็ดถี่นั้นเป็นวัดที่มีความสำคัญของอำเภอสารภี